top of page
Search

“ทำไมเราทำงานหนักขนาดนี้แต่กลับมองไม่เห็นอนาคตเลย”

  • Writer: ananya22n
    ananya22n
  • Jul 19, 2018
  • 1 min read

คำถามนี้มักจะเกิดขึ้นในใจเราอยู่เสมอ เมื่อเวลาที่เราทำงานหนักจนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่พยายามเท่าไหร่ก็เหมือนพยายามไปเท่านั้น ยิ่งมองเห็นคนอื่นไม่ต้องใช้ความพยายามมากเท่าเรา แต่กลับทำผลงานได้ดีจนดูมีอนาคตที่ดีก็ยิ่งมองตัวเองแย่ ไม่รู้ว่าจะทำงานหนักไปเพื่ออะไร สาเหตุนั้นมาจากอะไรกันแน่ ลองเช็คดูว่าเราเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า


1. อยู่ออฟฟิศจนดึกดื่นเพื่อปั่นงานให้ทันเวลา แทบไม่ได้นอน


2. งานยุ่ง งานเยอะจนล้นมือ ทำแทบไม่ทัน


3. บางทีก็ซ้ำหนัก โดนตำหนิเรื่องงาน ต้องกลับไปแก้ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนปวดหัว


ปัญหาทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรซ้ำๆได้ หากเราไม่ได้วางแผนการทำงาน งานไหนมาก่อนก็ทำก่อน หรือเอาแต่ทำงานยากๆทั้งวัน จนไม่มีเวลาพอสำหรับงานอื่น


2. ทำงานแบบ "Multitasking" ซึ่งก็คือการทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เช่นการตอบอีเมล์ในขณะที่คุยโทรศัพท์ไปด้วย หรือนั่งแชทในระหว่างการประชุม


จากหนังสือ "The leading brain" ของนักประสาทจิตวิทยา Friederike Fabritius และผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ Hans W. Hahemann ก็ได้กล่าวไว้ว่า ตอนที่เราเริ่มทำงานในช่วงต้นๆแล้วมีสิ่งรบกวนมาขัดจังหวะ เราจะต้องใช้เวลามากขึ้นถึง 50% ในการทำงานให้เสร็จ แถม 50% ของงานนั้นมีโอกาสเป็นงานที่ผิดอีกด้วย จะต้องใช้เวลาราวๆ 23 นาทีถึงจะดึงตัวเองกลับสู่สภาวะเดิมได้


3. ทำงานแบบ non-stop นั่งอยู่หน้าคอมอย่างเดียว ไม่พักผ่อน ไม่คุยเล่นกับใคร ใช้เวลาอยู่กับงานเพียงอย่างเดียว เพราะกลัวจะทำงานไม่ทัน


ยังไม่สายไปที่เราจะแก้ไขปัญหา ลองดูว่ามีวิธีไหนบ้าง


1. ควรลงมือทำงานที่ยากที่สุดในวันจันทร์เวลา 9-11โมง

จากผลสำรวจของ John Trougakos ของสำนักข่าวบีบีซีกล่าวไว้ว่า คนจะสร้างผลงานได้ดีที่สุดในเช้าวันจันทร์ และ 75% ของคนทำงานจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงเวลา 9-11 โมง

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เหล่าพนักงานออฟฟิศส่วนมากจะทำทันทีเมื่อถึงที่ทำงานคือ "การเช็คอีเมล์" ซึ่งหลังจากที่เราเปิดอีเมล์และใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับงานแล้ว เราจะเริ่มลงมือทำอย่างเต็มที่ประมาณ11โมง ซึ่งนั่นก็เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะทำงาน เราไม่ควรเก็บงานยากไว้ทำในช่วงเวลา 2-3โมงเพราะเป็นช่วงเวลาที่พลังงานเราจะลดต่ำที่สุด อย่างที่เคยได้ยินกันว่าหลังเที่ยงเป็นเวลาที่ควรงีบหลับจริงๆ ดังนั้นเราควรทำงานยากๆในช่วงเช้าและเก็บงานง่ายทำในช่วงบ่ายนั่นเอง


2. ทำงานให้จบเป็นชิ้นๆไป ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันจะดีที่สุด เราอาจจะรู้สึกว่ามันเสียเวลาถ้าทำพร้อมกันได้ทำไมไม่ทำ แต่เชื่อเถอะ ผลงานเราจะออกมาดีกว่าถ้าเราตั้งใจทำงานให้เสร็จไปทีละอย่าง แน่นอนว่าไม่ต้องวกกลับมาแก้งานอีกหลายครั้งด้วย


3. "กฎ 52:17" คือกฎแห่งการทำงานที่ทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ด้วยวิธีการทำงาน 52 นาทีและพัก 17 นาที หรือที่เรียกได้ว่า “smart work not hard work” ซึ่งหมายความว่าการทำงานที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้เวลากับมันมากแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้จักการทำงานอย่างชาญฉลาดด้วยการพักผ่อนสั้นๆ แต่ลงมือทำอย่างเฉียบแหลมมากแค่ไหนต่างหาก

จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลแห่งสหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนกฎนี้เช่นกัน ด้วยการทดลองใช้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงเตือนให้คนหยุดทำงานเป็นระยะ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ 13% ของคนที่ได้รับเสียงเตือนสามารถทำงานได้ดีและแม่นยำมากกว่าคนที่ไม่ได้รับเสียงเตือนอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงเราทำงานแบบไม่พักไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะนอกจากสมองจะตื้อแล้ว เรายังรู้สึกล้าไปหมด การพักผ่อนช่วงสั้นๆทำได้หลายแบบนัก เช่น ถ้าเราคิดงานไม่ออก ก็ออกไปเดินเล่นให้สมองได้รับออกซิเจนบ้าง กินขนมบ้าง หรืออาจจะเดินไปคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ก็นั่งดูคลิปตลกๆสักพักแล้วค่อยกลับมาทำงาน จะช่วยให้เราหัวแล่นได้เยอะ


เชื่อว่าถ้าเราปรับวิธีการทำงานของเราได้ บางทีเราอาจไม่ต้องทำงานหนักมากอย่างที่เราคิด และนอกจากเราจะได้ผลลัพธ์ของงานที่น่าพึ่งพอใจแล้ว ยังฝึกให้เราเป็นคนที่รู้จักการวางแผนชีวิต มีความสุขจากการแบ่งเวลามากขึ้น อย่าเคร่งเครียดกับงานมากเกินไป สักวันเราทุกคนก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน!




ขอบคุณข้อมูลจาก


 
 
 

Comments


Portfolio

bottom of page